ข้อมูลทั่วไป
เรือลำนี้มีความยาวประมาณ 60 เมตร มีชื่อว่า Koho Maru 5 ซึ่งหมายถึง แสงสว่างแห่งญี่ปุ่น เดิมเป็น ของบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาบริษัทของคนไทยได้ซื้อมาและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Pak 1 หรือ Pak Wan และ ดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกแก๊ส LPG
การเดินทางครั้งสุดท้าย
มีผู้พบสัญญาณไฟขอความช่วยเหลือของเรือลำนี้ ซึ่งบันทึกไว้ว่าเป็นปี ค.ศ.1995 ซึ่งก็เป็นปีที่เรือลำนี้จม จากการตรวจสอบกับบริษัท Lloyds of London แล้ว ปรากฏว่าไม่มีการแจ้งว่าเรือลำนี้มีการจมแต่อย่างใด หนึ่งในจำนวนลูกเรือที่รอดชีวิตจากเรือจมครั้งนั้น (ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ท่าเรือสมุทรปราการ) เล่าให้ฟังว่า เรือจมตอนตีสามซึ่งทุกคนกำลังนอนหลับลูกเรือส่วนใหญ่นอนอยู่ที่ด้านท้ายเรือยกเว้นพวกที่รอดชีวิต 4 คน นอนอยู่ที่หัวเรือ เขาได้ยินเสียงระเบิดดังมากซึ่งดังมาจากด้านท้ายเรือและเรือได้ จมลงอย่าง รวดเร็ว กว่าจะรู้สึกตัว เรือก็จมลงไปครึ่งลำแล้วลูกเรือบางคนวิ่งไปเปิดก๊าซในถังใบแรกที่อยู่หัวเรือออกซึ่งก็เปิดออกไปได้เพียงครึ่งเดียว ส่วนถังใบที่สองที่มีก๊าซอยู่เต็มถังนั้น จมน้ำลงไปแล้วไม่สามารถไปเปิดให้ก๊าซออก ไปได้ สาเหตุที่ต้องเปิดให้ก๊าซออกไปเนื่องจากเกรงว่าถ้าจมล่มไปในทะเลแล้วจะทำให้เกิดมลภาวะได้ พวกเขาต้องอยู่ในเรือชูชีพอยู่ถึง 7 วัน ในขณะที่อาหารและน้ำหมดลงไปตั้งวันที่ 4 แล้ว ใจในขณะนั้นทุกคนคิดว่าต้องตายแน่ หมดเรี่ยวแรงกันไปหมดแล้วแต่ในที่สุดก็มีเรือมาพบและช่วยชีวิตพวกเขาไว้ ก่อนที่เรือจะจมประมาณ 1 อาทิตย์ เขาได้ยินเสียงดังมากที่ห้องเครื่องยนต์ แต่ก็ไม่ได้สงสัยอะไร ลักษณะของเรือที่จม ในขณะที่เรือวิ่งอยู่นั้นปรากฏว่า ใบพัดเรือได้ฉีกขาด ทำให้น้ำทะลักเข้ามาทางด้านท้ายเรือแล้วน้ำทะเลเริ่มเข้าไปในห้องอับเฉาที่ 1 ด้านท้ายแล้วต่อเนื่องไปจนถึงห้องอับเฉาที่ 2 - 3 ส่วนห้องอับเฉาที่ 4 และ 5 นั้นถูกปิดสนิท น้ำทะเลเข้าไปไม่ ได้สาเหตุที่เรือลำนี้ตั้งตรงอยู่ได้เพราะห้องอับเฉาที่ 4 - 5 ซึ่งมีอากาศอยู่ภายใน และถังก๊าซใบแรกที่มีอากาศ อยู่ครึ่งหนึ่ง ทำให้ทำให้เป็น Buoyancy หัวเรือจึงเชิดขึ้นสู่ผิวน้ำในขณะที่ด้านท้ายเรือมีน้ำทะเลเป็นตัวถ่วงดุล ความหนักของเครื่องยนต์ จึงเป็นสาเหตุให้ท้ายเรือจมลงสู่พื้นทะเล เรือจมโดยด้านท้ายเรือตั้งอยู่กับพื้นทะเล และ หัวเรือพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำในลักษณะตั้งตรงเหมือนตึก และหัวเรือ ห่างจากผิวน้ำทะเลประมาณ 5 เมตร ซึ่งแตกต่างจากเรือจมโดยทั่ว ๆ ไป ที่ตัวเรือจะราบไปกับพื้นทะเล และหัวของเรือลำนี้มีรอยถูกชนจากเรือลำที่เผอิญผ่านมา ทำให้หัวเรือมีรอยฉีกขาดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อเรือจมใหม่ ๆ ยังไม่มีการวางทุ่นไว้ให้เป็นที่สังเกตสำหรับเรือที่ผ่านไปมา วิศวกรซึ่งเป็นนักดำน้ำคำนวณว่า ถังทั้ง 2 ใบ มีความหนา ประมาณ 25 มม. ซึ่งสามารถทนอยู่ได้ไม่ต่ำ กว่า 20 ปี ถึงจะเกิดรอยรั่วเนื่องจากการกัดเซาะของน้ำทะเล ตำแหน่งที่จม ระยะทาง : 60 ไมล์ จากจังหวัดระยอง ระยะเวลาเดินทางโดยเรือ : 5 ชั่วโมง ความลึก : 60 เมตร ทัศนวิสัย : น้ำใสมองเห็นได้ประมาณ 20 - 40 เมตร กระแสน้ำ : ปานกลาง อุณหภูมิของน้ำ : 28 องศาเซลเซียส ระดับของนักดำน้ำ : ควรอยู่ในการดูแลของ Divemaster
ที่มา : คุณโป๋ โพสต์ไว้ใน www.whalesharkthai.com เมื่อ 2 ก.พ. 2545 เวลา 05:41:40 น
ข้อมูลจาก การ post กระทู้ต่างๆ เกี่ยวกับ Vertical Wreck หรือ Pak 1 หรือ Pak Wan จาก www.whalesharkthai.com เมื่อปี พ.ศ. 2545
คุณ similans โพสต์ไว้เมื่อ 31 ม.ค. 2545 เวลา 19:18:20 น. ว่า “วันที่ 26 มกราคม 2545 กลุ่มร้านดำน้ำ Master Scuba Connection ของ ตา สุรางคนา ไปดำน้ำที่ Vertical wreck ไปถึงก็ปรากฏรูปที่เห็นอยู่นี่แหละครับ (รูปบน) (ค้นหารูปไม่พบ..ผู้รวบรวม) รอบ ๆ เรือมีฟองแก๊สลอยขึ้นมาตลอดเวลาพร้อมกับหัวเรือก็ลอยพ้นผิวน้ำขึ้นมา”
คุณโป๋ โพสต์ไว้เมื่อ 2 ก.พ. 2545 เวลา 05:29:57 น. ว่า “ดูจากในภาพและคำอธิบายที่ว่าหัวเรือลอยพ้นผิวน้ำขึ้นมานั้น เดาเอาว่า ก๊าซในถังใบที่สองที่เคยมีอยู่เต็มค่อย ๆ ออกไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด ทำให้มีอากาศมากขึ้น จึงสามารถยกส่วนท้ายเรือที่ติดอยู่ที่พื้นให้ลอยขึ้นมาจนกระทั่งหัวเรือลอยพ้นผิวน้ำ ซึ่งในตอนนั้นจมอยู่ใต้ผิวน้ำประมาณ 5 เมตร เป็นแค่เดาเอาเองเท่านั้น ไม่รู้ว่าเหตุใดเรือถึงได้ลอยขึ้นมาได้” และต่อมาในวันที่ 3 ก.พ. 2545 เวลา 06:13:24 น. ก็โพสต์ต่อว่า “นักดำน้ำที่ไปกับ HighTide ไปดำน้ำที่ Vertical Wreck เมื่อวันเสาร์(2 ก.พ.)กลับมาถึงฝั่งตอนค่ำ ๆ แจ้งว่า เรือลอยห่างจากจุดเดิม 3 ไมล์ทะเล และเข้ามาใกล้ฝั่งมากขึ้น หัวเรือที่เห็นในภาพแรกนั้น ลอยพ้นน้ำขึ้นมา 5 เมตร และยังคงสภาพอยู่ในแนวตั้งเหมือนเดิม แสดงว่าด้านท้ายของเรือไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นทะเลแล้ว น่าจะลอยพ้นทะเลขึ้นมา 10 เมตร เพราะเดิมหัวเรือจมอยู่ใต้ผิวน้ำ 5 เมตร และเรือจะยังคงลอยไปเรื่อย ๆ ได้ลงไปสำรวจดูแล้ว พบว่าที่ถังแก๊สใบแรกในระดับความลึก 40 ฟุต ดูภาพใน Comment 5 มีแก๊สพุ่งออกมาออกมาอยู่ตลอดเวลา แต่มองไม่เห็นว่าเป็นการพุ่งออกมาจากส่วนไหน เพราะมีตะแกรงบังอยู่ ลักษณะเหมือน Reg. FreeFlow (คงนึกภาพออก)” คุณโป๋ ได้รวบรวมข้อมูลของ Vertical wreck ไว้ดังนี้
Pak1 ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ (น.ส.พ.เดลินิวส์)
กองทัพเรือเตือนอันตราย ซากเรือบรรทุกแก็สเกือบ 700 ตันจมอยู่กลางทะเลใกล้เกาะกูด เกิดลอยขึ้นมาเหนือน้ำและเคลื่อนจากจุดเดิมมาเรื่อยๆ หากมีเรือพุ่งเข้าชนรับรองแก็สระเบิดแน่ รีบหาทางวางทุ่นลอยแจ้งตำแหน่งให้เรือเดินทะเลทราบก่อนเกิดเหตุร้าย เผยเป็นเรือบรรทุกแก็สจำนวนมากจะไปเวียดนามแต่จมเสียก่อนพร้อมลูกเรือ 9 คนตั้งแต่ ปี 39 เรื่องราวเรือแก๊ส เปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 5 ก.พ. น.อ.สุพรรณ เหมมาลา ผอ.กองยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ ได้รับแจ้งจาก นายวิเชียร สิงห์โตทอง ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวดำน้ำ จ.ระยอง ว่าได้ พบซากเรือบรรทุกแก๊สชื่อ “แพ๊ควัน” ที่จมอยู่ใต้ทะเลด้านเกาะกูด จ.ตราด ได้โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำประมาณ 15 เมตร และได้เคลื่อนที่จากแหล่งเดิมที่จมลง ห่างออกมาประมาณ 6 กม. คาดว่ากำลังลอยมุ่งหน้าไปทางเกาะเสม็ด จ.ระยอง เกรงว่าจะเกิดอันตรายกับเรือที่แล่นผ่านไปมา หากพุ่งเข้าไปชนซากเรือดังกล่าว จึงรายงานผู ้บังคับบัญชาทราบ ต่อมา พล.ร.ท.อกนิษฐ์ หมื่นศรี ผบ.กองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ ได้สั่งการให้นำเฮลิคอปเตอร์ จากหมวดบินเฉพาะกิจ ขึ้นทำการบินลาดตระเวนตรวจสอบเรือดังกล่าว บริเวณพิกัดแลตติจูด 11 องศา 43 ลิบดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 39 ลิบดาตะวันออก พบซากเรือบรรทุกแก๊สลำดังกล่าวได้เคลื่อนตัวและลอยขึ้นมาเหนือน้ำจริงตามที่ได้รับแจ้ง จึงรีบรายงานศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือทราบ เนื่องจากเกรงว่า ถ้ามีเรือประมง หรือเรือบรรทุกสินค้า และเรืออื่นๆ หากพุ่งเข้าชนจะเกิดระเบิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเรือลำดังกล่าวมีแก๊สชนิด แอลพีจี บรรจุอยู่ในถัง ถึง 2 ถังจำนวน 650,531 กก. อีกทั้งยังมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในเรือเหลืออยู่อีกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ด้วย หลังได้รับรายงาน พล.ร.ท. อกนิษฐ ์ เปิดเผยว่าเรือลำดังกล่าวเป็นเรือที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ ได้แจ้งให้กองเรือภาคที่1 ตรวจสอบเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2539 ว่าให้จัดกำลังทางเรือ อากาศยาน และอื่นๆ ช่วยค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเลจำนวน 9 คน กรณีเรือบรรทุกแก๊ส แพ็ควัน เกิดอับปางกลางทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะกูด จ.ตราด โดยเรือลำดังกล่าวได้เดินทางจากท่าเรือ บีไอ.เอสโซ่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อเดินทางไปยังเมืองท่าวองตู ประเทศเวียดนาม แต่ได้เกิดอับปางเสียก่อน จากการตรวจสอบปรากฏว่า เรือลำนี้เกิดอับปางตั้งแต่ วันที่ 25 ส.ค.39 การค้นหาผู้ประสบภัยจำนวน 9 คนเป็นไปด้วยความยากลำบาก และหาไม่พบแต่อย่างใด ต่อมาได้รับรายงานว่ามีผู้รอดชีวิต 1 คนสูญหายไป 8 คนจนบัดนี้ก็ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีผู้รอดชีวิตหรือไม่ ผบ.กองเรือภาคที่1 กล่าวต่อว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 เม.ย.42 ได้จัดชุดปฏิบัติการพิเศษทางเรือ กองเรือภาคที่ 1 ออกตรวจสอบสภาพของเรือ พบว่ายังอยู่ในสภาพปกติโดยได้ให้ทำความสะอาดท่อแก๊ส วาล์ว เพราะเกรงว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดชำรุดจะทำให้กำลังของแก๊สดันระเบิดขึ้นได้ และอาจรั่วสร้างมลภาวะทางน้ำ ส่วนสภาพของเรือ ยังอยู่ในลักษณะแนวตั้ง ด้านท้ายเรือจมลงในพื้นดินและทรายลึกประมาณ 5 เมตร ส่วนที่เหลืออีก 55 เมตรยังอยู่กลางน้ำ หัวเรือต่ำกว่าระดับน้ำเพียง 5 เมตร เท่านั้น สภาพเรือลักษณะเหมือนเคยถูกชนมาก่อนอีกด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือลำดังกล่าว จมมาแล้วเกือบ 6 ปี ซึ่งบริเวณดังกล่าว เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักดำน้ำทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เป็นแหล่งศึกษาเพาะพันธุ์ปลาที่มีขนาดใหญ่หลายชนิด ส่วนเรือลำดังกล่าว เป็นเรือสัญชาติไทยเป็นของบริษัท พีเอเค.ไลน ์ จำกัด ก่อนที่คนไทยจะซื้อมา เป็นของประเทศญี่ปุ่นชื่อ โกโฮมารู มีความยาวขนาด 60 เมตร
ขณะนั้นกองทัพเรือได้ประสานขอความช่วยเหลือไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากบริษัทฯ ในการกู้ซากเรือแต่อย่างใด จึงปล่อยเรือลำนี้ไว้อย่างนั้นมาถึงเกือบ 6 ปี ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเดินเรือเป็นอย่างมาก ถ้ามีเรือแล่นมาชนอาจเกิดระเบิดขึ้นได้ หรือถ้าแก๊สรั่วตามความเสื่อมของท่อหรือวาล์ว ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อภูมิทัศน์ทางทะเล สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตก็จะเป็นอันตราย ปริมาณแก๊สเกือบ 7 แสน กก. รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ล้วนแต่เป็นอันตรายทั้งสิ้น และขณะนี้เรือได้เคลื่อนตัวจากตำแหน่งเดิมไปมาก หากบรรดาเรือต่างๆ ไม่ทราบอันตรายก็จะเกิดขึ้นแน่ ทางกองทัพเรือต้องรีบหาแนวทางในการวางทุ่นลอยและแจ้งให้ชาวเรือทราบโดยเร็ว อีกทั้งทางบริษัทฯ ต้องรีบหาแนวทางกู้เรือให้เร็วที่สุดด้วย. จากการตรวจสอบพบว่าขณะนี้รอบๆ บริเวณพิกัดที่เรือลอยขึ้นมาเหนือน้ำได้มีคราบน้ำมันลอยเป็นลักษณะกลมใสเป็นวงกว้าง คาดว่าเป็นคราบน้ำมันดีเซลที่ใช้กับเครื่องยนต์เรือ ส่วนสาเหตุที่มีน้ำมันรั่วไหลขึ้นมานั้น คงเป็นสาเหตุที่เรือถูกคลื่นลม ตัวเรือกระแทกกับพื้นดินและทรายใต้ทะเล จนเป็นสาเหตุให้น้ำมันเริ่มรั่วไหลออกมา ส่วนสาเหตุเบื้องต้น สันนิษฐานว่า เรือบรรทุกแก๊สลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำนั้นคงเกิดจาก ขณะนี้มีอากาศร้อน น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ จนทำให้แก๊สที่บรรจุอยู่ในถังฟูลอยตัว จนดันให้เรือลอยตัวสูงขึ้นมาก็เป็นได้
ที่มา : น.ส.พ.เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th ไม่สามารถระบุวันที่ได้
เรือแพ๊ควันแก๊สรั่วอันตรายห้ามใกล้รัศมี 3 กม. (น.ส.พ.เดลินิวส์)
ทหารเรือประกาศเขตอันตรายบริเวณที่เรือบรรทุกแก๊ส "แพ๊ควัน" ล่มแล้ว หลังส่งประดาน้ำลงไปสำรวจพบว่า มีแก๊สรั่วออกมาจำนวนมาก สั่งห้ามเข้าใกล้ในรัศมี 3 กม.เกรงจะเกิดประกายไฟและทำให้เกิดระเบิดขึ้น ขณะเดียวกันตำแหน่งเรือได้ลอยออกห่างจากเกาะช้างแล้ว มุ่งหน้าเข้าไปในเขตเขมร ด้าน บริษัทประกันภัยเริ่มหารือกันเพื่อกู้เรือแล้วพร้อมกับเตรียมรื้อเรื่องการขอรับสินไหมทดแทนของ "แพ๊ควัน" ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง หลังโผล่พ้นน้ำของเรือบรรทุกแก๊ส "แพ็ควัน" ของบริษัท แพ็คไลน์ จำกัด ที่จมลงสู่ก้นทะเลพร้อมแก๊ส แอลพีจี. เกือบ 700 ตัน ไม่ห่างจากเกาะกูด จ.ตราด เท่าไรนัก ขณะเดินทางมุ่งหน้าไปประเทศเวียดนาม ล่าสุดกองเรือภาคที่1 ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปวางทุ่นลอยและติดสัญญาณไฟที่ซากเรือเพื่อป้องกันอุบัติเหตุแล้ว และถ้าในระยะยาวหากไม่มีใครมากู้เรือ ก็จะกู้เองหรือจมทิ้งที่ในทะเลลึก เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่อไป ด้านพัชรประกันภัย ก็เร่งประสานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการกู้ซากเรือ แต่ต้องใช้เวลาเนื่องจากต้องตรวจสอบว่า ในเรือยังมีแก๊สอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องเอาแก๊สออกไปเสียก่อน ขณะเดียวกันลูกเรือต่างออกมาเปิดเผย บางรายก็ได้เงินจากประกันสังคม บางรายก็ได้เงินก้อนไปเรียบร้อยแล้ว แต่ทุกคนก็ยังอยากให้กู้ซากเรือ เพื่อค้นหากระดูกญาติที่เสียชีวิตเพื่อนำมาบำเพ็ญกุศลนั้น ความคืบหน้าของเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 8 ก.พ. พล.ต.ท.อกนิษฐ ์ หมื่นศรี ผู้บัญชาการกองเรือภาคที่1 ได้รับรายงานจาก น.ต.ชำนาญ สอนแพง นายทหารเรือยุทธการ หัวหน้าชุดปฏิบัติสำรวจเรือแพ็ควัน ที่ จ.ตราด โดยได้นำเรือตรวจการณ์ หมายเลข 214 นำกำลังพลและอุปกรณ์ ไปดำน้ำสำรวจทราบ ที่แลตติจูด 11 องศา 39.41 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 40.99 ลิปดาตะวันออก ผลจากการสำรวจพบว่า สภาพตัวเรือบริเวณหัวเรือโผล่พ้นจากผิวน้ำขึ้นมาประมาณ 5 เมตร ส่วนท้ายเรือ ขณะนี้ยังจมอยู่ ใต้ผิวพื้นทะเลซึ่งเป็นดินโคลน ลึกประมาณ 55 เมตร สภาพท้องเรือทั่วไปยังอยู่ในสภาพดี ที่ดาดฟ้าเรือมีสาหร่าย หอย และสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถระบุส่วนของเรือได้ สะพานเดินเรือผุพัง สภาพถังแก๊สที่บรรจุแก๊สแอลพีจี. ยังมีความสมบูรณ์ สภาพของวาล์ว เปิด-ปิด มีหอยเกาะอยู่ เป็นจำนวนมากและหนามาก ส่วนตั้งแต่หัวเรือลงมามีความลึกประมาณ 10 เมตร พบฟองอากาศซึ่งเป็นแก๊สรั่วออกมาบริเวณใต้ตะแกรง ช่องทางเดินกลางลำเรือตลอดแนว มีฟองอากาศผุดจากเรือขึ้นสู่ผิวน้ำ เป็นฟองอากาศจำนวนมาก ประมาณ 10 ลิตร ต่อนาที ทางชุดสำรวจจึงไม่กล้าถอดอุปกรณ์ หรือเข้าไปในตัวเรือ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของเจ้าหน้าที่ ด้าน พล.ร.ท.วิชัย จันทร์แทน เจ้ากรมอุทกศาสตร์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้จัดเตรียมอุปกรณ์ชุดไฟลงเรือตรวจการณ์ หมายเลข 41 ออกจากท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ คาดว่าจะสามารถติดตั้งสัญญาณไฟได้ ในวันที่ 9 ก.พ. ซึ่งการติดตั้งสัญญาณไฟในครั้งนี้ จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากการทำงานมีวงจรไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และมีแก๊สรั่วออกมาจากเรือมากขนาดนี้ ถ้าเกิดประกายไฟขึ้นอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ และหลังจากที่ทราบว่ามีแก๊สรั่วออกมามาก จึงได้เรียนให้ พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ผบ.ทร. ทราบ พร้อมกับประกาศชาวเรือให้ประกาศเขตเรือแพ็ควัน เป็นเขตอันตราย ห้ามเรือผ่านเข้ามาในระยะ 3 กม.เป็นอย่างน้อย ถ้าการดำเนินการยังยืดเยื้อไม่สามารถดำเนินการได้ ในระยะแรก ก็จำเป็นต้องติดไฟในลักษณะประภาคารเคลื่อนที่ไว้ที่บริเวณเรือลำนี้ ซึ่งจะดำเนินการในเดือน มี.ค.นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ตำแหน่งเรือแพ็ควัน ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งหน้าไปทางประเทศกัมพูชา ห่างออกไปจากพิกัดเดิมประมาณ 8 กม. ห่างจากเกาะกูด จ.ตราด ประมาณ 80 กม. ห่างจากเกาะช้างประมาณ 70 กม. สำหรับแก๊สแอลพีจี.หรือก๊าซหุงต้มชนิดเหลวสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สามารถละลายในน้ำได้ ไม่มีสี แต่มีกลิ่น และถ้าเติมสารประกอบซัลเฟอร ์ จะเป็นวัตถุไวไฟ และสามารถติดไฟได้เองภายใต้อุณหภูมิ 400-500 องศาเซลเซียส และสามารถทำปฎิกิริยารุนแรงกับคลอรีน โบรมีน ฟลูออรีน มีผลกระทบทางระบบทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดระคายเคืองต่อจมูก และระบบทางเดินหายใจ และหากสูดเข้าไปปริมาณมาก จะทำให้หมดสติได้ รวมทั้งบริเวณที่สัมผัสจะเกิดแผลให้เห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นหากปล่อยให้แก๊สรั่วอยู่อย่างนี้ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่า ถึงแม้ว่าของเหลวซึ่งเป็นก๊าซจะรั่วออกมาแล้วก็ตาม แต่ถังที่เคยบรรจุแก๊สทุกใบจะมีแรงดัน ซึ่งก็ยังมีโอกาสระเบิดได้ทุกเมื่อ หากมีแรงอัด หรือแรงกระแทกอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันการแตกตัวของก๊าซในสภาพของเหลวกลายเป็นไอ สามารถขยายตัวได้ถึง 270 เท่า และถ้าหากมาผสานกับอากาศ ความร้อน เชื้อเพลิงที่เหมาะสมก็มีอัตราเสี่ยงในการระเบิดได้อีกเช่นกัน นายเมตตา บันเทิงสุข รองเลขาธิการ สพช.กล่าวว่าการที่แก๊สแอลพีจี. รั่วซึมออกมาจากเรือที่จนอยู่ในทะเลนั้น ไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในท้องทะเลบริเวณนั้น ซึ่งแก๊สที่รั่วออกมาจะเป็นแรงดันอากาศขึ้นมาเป็นฟองอากาศ และระเหยไปไม่มีอันตราย แต่ก็ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดประจุไฟฟ้า เพราะอาจจะเกิดเปลวไฟขึ้นมาได้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการกู้เรือก๊าซอย่างปลอดภัย ควรถามรายละเอียดกับกรมโยธาธิการ ซึ่งรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยในการขนส่งเชื้อเพลิงโดยตรง ที่พัชรประกันภัย อาคารเมอร์ คิวรี่ แยกชิดลม ได้มีการประชุมกันระหว่างตัวแทนบริษัทกรุงเทพประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับประกันสินค้าที่บรรทุกในเรือแพ็ควัน กับบริษัทพัทรประกันภัยซึ่งรับประกันในส่วนของตัวเรือแพ็ควัน โดยการประชุมต้องการหาข้อสรุปในการกู้ซากเรือเป็นอันดับแรก เนื่องจากทางบริษัทกรุงเทพประกันภัยได้รับการประสานมาจากกองเรือภาคที่1 ในเรื่องการกู้ซากเรือ นอกจากนั้นทางบริษัททั้งสองจะไดหารือกันถึงเรื่องการจ ่ายสินไหมทดแทนให ้กับบริษัทแพ็คไลน ์ ไปแล ้วแต ่ได ้มีลูกเรือมาเปิดเผยความไม ่ชอบมาพากลในการเรื่องการเบิกสินไหมทดแทน จึงได ้นำเรื่องรายละเอียดของเรือแพ็ควันมาร ่วมกันพิจารณาอีกครั้ง โดย พัชรประกันภัย รับประกันตัวเรือแพ็ควันไว ้ในวงเงิน 17.5 ล ้านบาท ส ่วนการประกันราคาสินค ้าซึ่งบริษัทกรุงเทพประกันภัยรับผิดชอบนั้น ยังไม ่เป็นที่เปิดเผย
ที่มาข้อมูล
http://www.whalesharkthai.com
วิชาการ.คอม (http://www.vcharkarn.com/vnews/5837) สืบค้นเมื่อ 19 มี.ค.2552
http://www.dailynews.co.th
http://www.thaiwreckdiver.comhttp://www.aquanautsdive.com/news/dj/hiddenwr
การเดินทางครั้งสุดท้าย
มีผู้พบสัญญาณไฟขอความช่วยเหลือของเรือลำนี้ ซึ่งบันทึกไว้ว่าเป็นปี ค.ศ.1995 ซึ่งก็เป็นปีที่เรือลำนี้จม จากการตรวจสอบกับบริษัท Lloyds of London แล้ว ปรากฏว่าไม่มีการแจ้งว่าเรือลำนี้มีการจมแต่อย่างใด หนึ่งในจำนวนลูกเรือที่รอดชีวิตจากเรือจมครั้งนั้น (ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ท่าเรือสมุทรปราการ) เล่าให้ฟังว่า เรือจมตอนตีสามซึ่งทุกคนกำลังนอนหลับลูกเรือส่วนใหญ่นอนอยู่ที่ด้านท้ายเรือยกเว้นพวกที่รอดชีวิต 4 คน นอนอยู่ที่หัวเรือ เขาได้ยินเสียงระเบิดดังมากซึ่งดังมาจากด้านท้ายเรือและเรือได้ จมลงอย่าง รวดเร็ว กว่าจะรู้สึกตัว เรือก็จมลงไปครึ่งลำแล้วลูกเรือบางคนวิ่งไปเปิดก๊าซในถังใบแรกที่อยู่หัวเรือออกซึ่งก็เปิดออกไปได้เพียงครึ่งเดียว ส่วนถังใบที่สองที่มีก๊าซอยู่เต็มถังนั้น จมน้ำลงไปแล้วไม่สามารถไปเปิดให้ก๊าซออก ไปได้ สาเหตุที่ต้องเปิดให้ก๊าซออกไปเนื่องจากเกรงว่าถ้าจมล่มไปในทะเลแล้วจะทำให้เกิดมลภาวะได้ พวกเขาต้องอยู่ในเรือชูชีพอยู่ถึง 7 วัน ในขณะที่อาหารและน้ำหมดลงไปตั้งวันที่ 4 แล้ว ใจในขณะนั้นทุกคนคิดว่าต้องตายแน่ หมดเรี่ยวแรงกันไปหมดแล้วแต่ในที่สุดก็มีเรือมาพบและช่วยชีวิตพวกเขาไว้ ก่อนที่เรือจะจมประมาณ 1 อาทิตย์ เขาได้ยินเสียงดังมากที่ห้องเครื่องยนต์ แต่ก็ไม่ได้สงสัยอะไร ลักษณะของเรือที่จม ในขณะที่เรือวิ่งอยู่นั้นปรากฏว่า ใบพัดเรือได้ฉีกขาด ทำให้น้ำทะลักเข้ามาทางด้านท้ายเรือแล้วน้ำทะเลเริ่มเข้าไปในห้องอับเฉาที่ 1 ด้านท้ายแล้วต่อเนื่องไปจนถึงห้องอับเฉาที่ 2 - 3 ส่วนห้องอับเฉาที่ 4 และ 5 นั้นถูกปิดสนิท น้ำทะเลเข้าไปไม่ ได้สาเหตุที่เรือลำนี้ตั้งตรงอยู่ได้เพราะห้องอับเฉาที่ 4 - 5 ซึ่งมีอากาศอยู่ภายใน และถังก๊าซใบแรกที่มีอากาศ อยู่ครึ่งหนึ่ง ทำให้ทำให้เป็น Buoyancy หัวเรือจึงเชิดขึ้นสู่ผิวน้ำในขณะที่ด้านท้ายเรือมีน้ำทะเลเป็นตัวถ่วงดุล ความหนักของเครื่องยนต์ จึงเป็นสาเหตุให้ท้ายเรือจมลงสู่พื้นทะเล เรือจมโดยด้านท้ายเรือตั้งอยู่กับพื้นทะเล และ หัวเรือพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำในลักษณะตั้งตรงเหมือนตึก และหัวเรือ ห่างจากผิวน้ำทะเลประมาณ 5 เมตร ซึ่งแตกต่างจากเรือจมโดยทั่ว ๆ ไป ที่ตัวเรือจะราบไปกับพื้นทะเล และหัวของเรือลำนี้มีรอยถูกชนจากเรือลำที่เผอิญผ่านมา ทำให้หัวเรือมีรอยฉีกขาดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อเรือจมใหม่ ๆ ยังไม่มีการวางทุ่นไว้ให้เป็นที่สังเกตสำหรับเรือที่ผ่านไปมา วิศวกรซึ่งเป็นนักดำน้ำคำนวณว่า ถังทั้ง 2 ใบ มีความหนา ประมาณ 25 มม. ซึ่งสามารถทนอยู่ได้ไม่ต่ำ กว่า 20 ปี ถึงจะเกิดรอยรั่วเนื่องจากการกัดเซาะของน้ำทะเล ตำแหน่งที่จม ระยะทาง : 60 ไมล์ จากจังหวัดระยอง ระยะเวลาเดินทางโดยเรือ : 5 ชั่วโมง ความลึก : 60 เมตร ทัศนวิสัย : น้ำใสมองเห็นได้ประมาณ 20 - 40 เมตร กระแสน้ำ : ปานกลาง อุณหภูมิของน้ำ : 28 องศาเซลเซียส ระดับของนักดำน้ำ : ควรอยู่ในการดูแลของ Divemaster
ที่มา : คุณโป๋ โพสต์ไว้ใน www.whalesharkthai.com เมื่อ 2 ก.พ. 2545 เวลา 05:41:40 น
ข้อมูลจาก การ post กระทู้ต่างๆ เกี่ยวกับ Vertical Wreck หรือ Pak 1 หรือ Pak Wan จาก www.whalesharkthai.com เมื่อปี พ.ศ. 2545
คุณ similans โพสต์ไว้เมื่อ 31 ม.ค. 2545 เวลา 19:18:20 น. ว่า “วันที่ 26 มกราคม 2545 กลุ่มร้านดำน้ำ Master Scuba Connection ของ ตา สุรางคนา ไปดำน้ำที่ Vertical wreck ไปถึงก็ปรากฏรูปที่เห็นอยู่นี่แหละครับ (รูปบน) (ค้นหารูปไม่พบ..ผู้รวบรวม) รอบ ๆ เรือมีฟองแก๊สลอยขึ้นมาตลอดเวลาพร้อมกับหัวเรือก็ลอยพ้นผิวน้ำขึ้นมา”
คุณโป๋ โพสต์ไว้เมื่อ 2 ก.พ. 2545 เวลา 05:29:57 น. ว่า “ดูจากในภาพและคำอธิบายที่ว่าหัวเรือลอยพ้นผิวน้ำขึ้นมานั้น เดาเอาว่า ก๊าซในถังใบที่สองที่เคยมีอยู่เต็มค่อย ๆ ออกไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด ทำให้มีอากาศมากขึ้น จึงสามารถยกส่วนท้ายเรือที่ติดอยู่ที่พื้นให้ลอยขึ้นมาจนกระทั่งหัวเรือลอยพ้นผิวน้ำ ซึ่งในตอนนั้นจมอยู่ใต้ผิวน้ำประมาณ 5 เมตร เป็นแค่เดาเอาเองเท่านั้น ไม่รู้ว่าเหตุใดเรือถึงได้ลอยขึ้นมาได้” และต่อมาในวันที่ 3 ก.พ. 2545 เวลา 06:13:24 น. ก็โพสต์ต่อว่า “นักดำน้ำที่ไปกับ HighTide ไปดำน้ำที่ Vertical Wreck เมื่อวันเสาร์(2 ก.พ.)กลับมาถึงฝั่งตอนค่ำ ๆ แจ้งว่า เรือลอยห่างจากจุดเดิม 3 ไมล์ทะเล และเข้ามาใกล้ฝั่งมากขึ้น หัวเรือที่เห็นในภาพแรกนั้น ลอยพ้นน้ำขึ้นมา 5 เมตร และยังคงสภาพอยู่ในแนวตั้งเหมือนเดิม แสดงว่าด้านท้ายของเรือไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นทะเลแล้ว น่าจะลอยพ้นทะเลขึ้นมา 10 เมตร เพราะเดิมหัวเรือจมอยู่ใต้ผิวน้ำ 5 เมตร และเรือจะยังคงลอยไปเรื่อย ๆ ได้ลงไปสำรวจดูแล้ว พบว่าที่ถังแก๊สใบแรกในระดับความลึก 40 ฟุต ดูภาพใน Comment 5 มีแก๊สพุ่งออกมาออกมาอยู่ตลอดเวลา แต่มองไม่เห็นว่าเป็นการพุ่งออกมาจากส่วนไหน เพราะมีตะแกรงบังอยู่ ลักษณะเหมือน Reg. FreeFlow (คงนึกภาพออก)” คุณโป๋ ได้รวบรวมข้อมูลของ Vertical wreck ไว้ดังนี้
Pak1 ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ (น.ส.พ.เดลินิวส์)
กองทัพเรือเตือนอันตราย ซากเรือบรรทุกแก็สเกือบ 700 ตันจมอยู่กลางทะเลใกล้เกาะกูด เกิดลอยขึ้นมาเหนือน้ำและเคลื่อนจากจุดเดิมมาเรื่อยๆ หากมีเรือพุ่งเข้าชนรับรองแก็สระเบิดแน่ รีบหาทางวางทุ่นลอยแจ้งตำแหน่งให้เรือเดินทะเลทราบก่อนเกิดเหตุร้าย เผยเป็นเรือบรรทุกแก็สจำนวนมากจะไปเวียดนามแต่จมเสียก่อนพร้อมลูกเรือ 9 คนตั้งแต่ ปี 39 เรื่องราวเรือแก๊ส เปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 5 ก.พ. น.อ.สุพรรณ เหมมาลา ผอ.กองยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ ได้รับแจ้งจาก นายวิเชียร สิงห์โตทอง ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวดำน้ำ จ.ระยอง ว่าได้ พบซากเรือบรรทุกแก๊สชื่อ “แพ๊ควัน” ที่จมอยู่ใต้ทะเลด้านเกาะกูด จ.ตราด ได้โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำประมาณ 15 เมตร และได้เคลื่อนที่จากแหล่งเดิมที่จมลง ห่างออกมาประมาณ 6 กม. คาดว่ากำลังลอยมุ่งหน้าไปทางเกาะเสม็ด จ.ระยอง เกรงว่าจะเกิดอันตรายกับเรือที่แล่นผ่านไปมา หากพุ่งเข้าไปชนซากเรือดังกล่าว จึงรายงานผู ้บังคับบัญชาทราบ ต่อมา พล.ร.ท.อกนิษฐ์ หมื่นศรี ผบ.กองเรือภาคที่ 1 กองเรือยุทธการ ได้สั่งการให้นำเฮลิคอปเตอร์ จากหมวดบินเฉพาะกิจ ขึ้นทำการบินลาดตระเวนตรวจสอบเรือดังกล่าว บริเวณพิกัดแลตติจูด 11 องศา 43 ลิบดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 39 ลิบดาตะวันออก พบซากเรือบรรทุกแก๊สลำดังกล่าวได้เคลื่อนตัวและลอยขึ้นมาเหนือน้ำจริงตามที่ได้รับแจ้ง จึงรีบรายงานศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือทราบ เนื่องจากเกรงว่า ถ้ามีเรือประมง หรือเรือบรรทุกสินค้า และเรืออื่นๆ หากพุ่งเข้าชนจะเกิดระเบิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเรือลำดังกล่าวมีแก๊สชนิด แอลพีจี บรรจุอยู่ในถัง ถึง 2 ถังจำนวน 650,531 กก. อีกทั้งยังมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในเรือเหลืออยู่อีกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ด้วย หลังได้รับรายงาน พล.ร.ท. อกนิษฐ ์ เปิดเผยว่าเรือลำดังกล่าวเป็นเรือที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ ได้แจ้งให้กองเรือภาคที่1 ตรวจสอบเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2539 ว่าให้จัดกำลังทางเรือ อากาศยาน และอื่นๆ ช่วยค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเลจำนวน 9 คน กรณีเรือบรรทุกแก๊ส แพ็ควัน เกิดอับปางกลางทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะกูด จ.ตราด โดยเรือลำดังกล่าวได้เดินทางจากท่าเรือ บีไอ.เอสโซ่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อเดินทางไปยังเมืองท่าวองตู ประเทศเวียดนาม แต่ได้เกิดอับปางเสียก่อน จากการตรวจสอบปรากฏว่า เรือลำนี้เกิดอับปางตั้งแต่ วันที่ 25 ส.ค.39 การค้นหาผู้ประสบภัยจำนวน 9 คนเป็นไปด้วยความยากลำบาก และหาไม่พบแต่อย่างใด ต่อมาได้รับรายงานว่ามีผู้รอดชีวิต 1 คนสูญหายไป 8 คนจนบัดนี้ก็ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีผู้รอดชีวิตหรือไม่ ผบ.กองเรือภาคที่1 กล่าวต่อว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 เม.ย.42 ได้จัดชุดปฏิบัติการพิเศษทางเรือ กองเรือภาคที่ 1 ออกตรวจสอบสภาพของเรือ พบว่ายังอยู่ในสภาพปกติโดยได้ให้ทำความสะอาดท่อแก๊ส วาล์ว เพราะเกรงว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดชำรุดจะทำให้กำลังของแก๊สดันระเบิดขึ้นได้ และอาจรั่วสร้างมลภาวะทางน้ำ ส่วนสภาพของเรือ ยังอยู่ในลักษณะแนวตั้ง ด้านท้ายเรือจมลงในพื้นดินและทรายลึกประมาณ 5 เมตร ส่วนที่เหลืออีก 55 เมตรยังอยู่กลางน้ำ หัวเรือต่ำกว่าระดับน้ำเพียง 5 เมตร เท่านั้น สภาพเรือลักษณะเหมือนเคยถูกชนมาก่อนอีกด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือลำดังกล่าว จมมาแล้วเกือบ 6 ปี ซึ่งบริเวณดังกล่าว เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับนักดำน้ำทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เป็นแหล่งศึกษาเพาะพันธุ์ปลาที่มีขนาดใหญ่หลายชนิด ส่วนเรือลำดังกล่าว เป็นเรือสัญชาติไทยเป็นของบริษัท พีเอเค.ไลน ์ จำกัด ก่อนที่คนไทยจะซื้อมา เป็นของประเทศญี่ปุ่นชื่อ โกโฮมารู มีความยาวขนาด 60 เมตร
ขณะนั้นกองทัพเรือได้ประสานขอความช่วยเหลือไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากบริษัทฯ ในการกู้ซากเรือแต่อย่างใด จึงปล่อยเรือลำนี้ไว้อย่างนั้นมาถึงเกือบ 6 ปี ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเดินเรือเป็นอย่างมาก ถ้ามีเรือแล่นมาชนอาจเกิดระเบิดขึ้นได้ หรือถ้าแก๊สรั่วตามความเสื่อมของท่อหรือวาล์ว ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อภูมิทัศน์ทางทะเล สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตก็จะเป็นอันตราย ปริมาณแก๊สเกือบ 7 แสน กก. รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ล้วนแต่เป็นอันตรายทั้งสิ้น และขณะนี้เรือได้เคลื่อนตัวจากตำแหน่งเดิมไปมาก หากบรรดาเรือต่างๆ ไม่ทราบอันตรายก็จะเกิดขึ้นแน่ ทางกองทัพเรือต้องรีบหาแนวทางในการวางทุ่นลอยและแจ้งให้ชาวเรือทราบโดยเร็ว อีกทั้งทางบริษัทฯ ต้องรีบหาแนวทางกู้เรือให้เร็วที่สุดด้วย. จากการตรวจสอบพบว่าขณะนี้รอบๆ บริเวณพิกัดที่เรือลอยขึ้นมาเหนือน้ำได้มีคราบน้ำมันลอยเป็นลักษณะกลมใสเป็นวงกว้าง คาดว่าเป็นคราบน้ำมันดีเซลที่ใช้กับเครื่องยนต์เรือ ส่วนสาเหตุที่มีน้ำมันรั่วไหลขึ้นมานั้น คงเป็นสาเหตุที่เรือถูกคลื่นลม ตัวเรือกระแทกกับพื้นดินและทรายใต้ทะเล จนเป็นสาเหตุให้น้ำมันเริ่มรั่วไหลออกมา ส่วนสาเหตุเบื้องต้น สันนิษฐานว่า เรือบรรทุกแก๊สลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำนั้นคงเกิดจาก ขณะนี้มีอากาศร้อน น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ จนทำให้แก๊สที่บรรจุอยู่ในถังฟูลอยตัว จนดันให้เรือลอยตัวสูงขึ้นมาก็เป็นได้
ที่มา : น.ส.พ.เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th ไม่สามารถระบุวันที่ได้
เรือแพ๊ควันแก๊สรั่วอันตรายห้ามใกล้รัศมี 3 กม. (น.ส.พ.เดลินิวส์)
ทหารเรือประกาศเขตอันตรายบริเวณที่เรือบรรทุกแก๊ส "แพ๊ควัน" ล่มแล้ว หลังส่งประดาน้ำลงไปสำรวจพบว่า มีแก๊สรั่วออกมาจำนวนมาก สั่งห้ามเข้าใกล้ในรัศมี 3 กม.เกรงจะเกิดประกายไฟและทำให้เกิดระเบิดขึ้น ขณะเดียวกันตำแหน่งเรือได้ลอยออกห่างจากเกาะช้างแล้ว มุ่งหน้าเข้าไปในเขตเขมร ด้าน บริษัทประกันภัยเริ่มหารือกันเพื่อกู้เรือแล้วพร้อมกับเตรียมรื้อเรื่องการขอรับสินไหมทดแทนของ "แพ๊ควัน" ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง หลังโผล่พ้นน้ำของเรือบรรทุกแก๊ส "แพ็ควัน" ของบริษัท แพ็คไลน์ จำกัด ที่จมลงสู่ก้นทะเลพร้อมแก๊ส แอลพีจี. เกือบ 700 ตัน ไม่ห่างจากเกาะกูด จ.ตราด เท่าไรนัก ขณะเดินทางมุ่งหน้าไปประเทศเวียดนาม ล่าสุดกองเรือภาคที่1 ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปวางทุ่นลอยและติดสัญญาณไฟที่ซากเรือเพื่อป้องกันอุบัติเหตุแล้ว และถ้าในระยะยาวหากไม่มีใครมากู้เรือ ก็จะกู้เองหรือจมทิ้งที่ในทะเลลึก เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่อไป ด้านพัชรประกันภัย ก็เร่งประสานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการกู้ซากเรือ แต่ต้องใช้เวลาเนื่องจากต้องตรวจสอบว่า ในเรือยังมีแก๊สอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็ต้องเอาแก๊สออกไปเสียก่อน ขณะเดียวกันลูกเรือต่างออกมาเปิดเผย บางรายก็ได้เงินจากประกันสังคม บางรายก็ได้เงินก้อนไปเรียบร้อยแล้ว แต่ทุกคนก็ยังอยากให้กู้ซากเรือ เพื่อค้นหากระดูกญาติที่เสียชีวิตเพื่อนำมาบำเพ็ญกุศลนั้น ความคืบหน้าของเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 8 ก.พ. พล.ต.ท.อกนิษฐ ์ หมื่นศรี ผู้บัญชาการกองเรือภาคที่1 ได้รับรายงานจาก น.ต.ชำนาญ สอนแพง นายทหารเรือยุทธการ หัวหน้าชุดปฏิบัติสำรวจเรือแพ็ควัน ที่ จ.ตราด โดยได้นำเรือตรวจการณ์ หมายเลข 214 นำกำลังพลและอุปกรณ์ ไปดำน้ำสำรวจทราบ ที่แลตติจูด 11 องศา 39.41 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 40.99 ลิปดาตะวันออก ผลจากการสำรวจพบว่า สภาพตัวเรือบริเวณหัวเรือโผล่พ้นจากผิวน้ำขึ้นมาประมาณ 5 เมตร ส่วนท้ายเรือ ขณะนี้ยังจมอยู่ ใต้ผิวพื้นทะเลซึ่งเป็นดินโคลน ลึกประมาณ 55 เมตร สภาพท้องเรือทั่วไปยังอยู่ในสภาพดี ที่ดาดฟ้าเรือมีสาหร่าย หอย และสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถระบุส่วนของเรือได้ สะพานเดินเรือผุพัง สภาพถังแก๊สที่บรรจุแก๊สแอลพีจี. ยังมีความสมบูรณ์ สภาพของวาล์ว เปิด-ปิด มีหอยเกาะอยู่ เป็นจำนวนมากและหนามาก ส่วนตั้งแต่หัวเรือลงมามีความลึกประมาณ 10 เมตร พบฟองอากาศซึ่งเป็นแก๊สรั่วออกมาบริเวณใต้ตะแกรง ช่องทางเดินกลางลำเรือตลอดแนว มีฟองอากาศผุดจากเรือขึ้นสู่ผิวน้ำ เป็นฟองอากาศจำนวนมาก ประมาณ 10 ลิตร ต่อนาที ทางชุดสำรวจจึงไม่กล้าถอดอุปกรณ์ หรือเข้าไปในตัวเรือ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของเจ้าหน้าที่ ด้าน พล.ร.ท.วิชัย จันทร์แทน เจ้ากรมอุทกศาสตร์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้จัดเตรียมอุปกรณ์ชุดไฟลงเรือตรวจการณ์ หมายเลข 41 ออกจากท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ คาดว่าจะสามารถติดตั้งสัญญาณไฟได้ ในวันที่ 9 ก.พ. ซึ่งการติดตั้งสัญญาณไฟในครั้งนี้ จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากการทำงานมีวงจรไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และมีแก๊สรั่วออกมาจากเรือมากขนาดนี้ ถ้าเกิดประกายไฟขึ้นอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ และหลังจากที่ทราบว่ามีแก๊สรั่วออกมามาก จึงได้เรียนให้ พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ผบ.ทร. ทราบ พร้อมกับประกาศชาวเรือให้ประกาศเขตเรือแพ็ควัน เป็นเขตอันตราย ห้ามเรือผ่านเข้ามาในระยะ 3 กม.เป็นอย่างน้อย ถ้าการดำเนินการยังยืดเยื้อไม่สามารถดำเนินการได้ ในระยะแรก ก็จำเป็นต้องติดไฟในลักษณะประภาคารเคลื่อนที่ไว้ที่บริเวณเรือลำนี้ ซึ่งจะดำเนินการในเดือน มี.ค.นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ตำแหน่งเรือแพ็ควัน ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งหน้าไปทางประเทศกัมพูชา ห่างออกไปจากพิกัดเดิมประมาณ 8 กม. ห่างจากเกาะกูด จ.ตราด ประมาณ 80 กม. ห่างจากเกาะช้างประมาณ 70 กม. สำหรับแก๊สแอลพีจี.หรือก๊าซหุงต้มชนิดเหลวสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สามารถละลายในน้ำได้ ไม่มีสี แต่มีกลิ่น และถ้าเติมสารประกอบซัลเฟอร ์ จะเป็นวัตถุไวไฟ และสามารถติดไฟได้เองภายใต้อุณหภูมิ 400-500 องศาเซลเซียส และสามารถทำปฎิกิริยารุนแรงกับคลอรีน โบรมีน ฟลูออรีน มีผลกระทบทางระบบทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดระคายเคืองต่อจมูก และระบบทางเดินหายใจ และหากสูดเข้าไปปริมาณมาก จะทำให้หมดสติได้ รวมทั้งบริเวณที่สัมผัสจะเกิดแผลให้เห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นหากปล่อยให้แก๊สรั่วอยู่อย่างนี้ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่า ถึงแม้ว่าของเหลวซึ่งเป็นก๊าซจะรั่วออกมาแล้วก็ตาม แต่ถังที่เคยบรรจุแก๊สทุกใบจะมีแรงดัน ซึ่งก็ยังมีโอกาสระเบิดได้ทุกเมื่อ หากมีแรงอัด หรือแรงกระแทกอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันการแตกตัวของก๊าซในสภาพของเหลวกลายเป็นไอ สามารถขยายตัวได้ถึง 270 เท่า และถ้าหากมาผสานกับอากาศ ความร้อน เชื้อเพลิงที่เหมาะสมก็มีอัตราเสี่ยงในการระเบิดได้อีกเช่นกัน นายเมตตา บันเทิงสุข รองเลขาธิการ สพช.กล่าวว่าการที่แก๊สแอลพีจี. รั่วซึมออกมาจากเรือที่จนอยู่ในทะเลนั้น ไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในท้องทะเลบริเวณนั้น ซึ่งแก๊สที่รั่วออกมาจะเป็นแรงดันอากาศขึ้นมาเป็นฟองอากาศ และระเหยไปไม่มีอันตราย แต่ก็ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดประจุไฟฟ้า เพราะอาจจะเกิดเปลวไฟขึ้นมาได้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการกู้เรือก๊าซอย่างปลอดภัย ควรถามรายละเอียดกับกรมโยธาธิการ ซึ่งรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยในการขนส่งเชื้อเพลิงโดยตรง ที่พัชรประกันภัย อาคารเมอร์ คิวรี่ แยกชิดลม ได้มีการประชุมกันระหว่างตัวแทนบริษัทกรุงเทพประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับประกันสินค้าที่บรรทุกในเรือแพ็ควัน กับบริษัทพัทรประกันภัยซึ่งรับประกันในส่วนของตัวเรือแพ็ควัน โดยการประชุมต้องการหาข้อสรุปในการกู้ซากเรือเป็นอันดับแรก เนื่องจากทางบริษัทกรุงเทพประกันภัยได้รับการประสานมาจากกองเรือภาคที่1 ในเรื่องการกู้ซากเรือ นอกจากนั้นทางบริษัททั้งสองจะไดหารือกันถึงเรื่องการจ ่ายสินไหมทดแทนให ้กับบริษัทแพ็คไลน ์ ไปแล ้วแต ่ได ้มีลูกเรือมาเปิดเผยความไม ่ชอบมาพากลในการเรื่องการเบิกสินไหมทดแทน จึงได ้นำเรื่องรายละเอียดของเรือแพ็ควันมาร ่วมกันพิจารณาอีกครั้ง โดย พัชรประกันภัย รับประกันตัวเรือแพ็ควันไว ้ในวงเงิน 17.5 ล ้านบาท ส ่วนการประกันราคาสินค ้าซึ่งบริษัทกรุงเทพประกันภัยรับผิดชอบนั้น ยังไม ่เป็นที่เปิดเผย
ที่มาข้อมูล
http://www.whalesharkthai.com
วิชาการ.คอม (http://www.vcharkarn.com/vnews/5837) สืบค้นเมื่อ 19 มี.ค.2552
http://www.dailynews.co.th
http://www.thaiwreckdiver.comhttp://www.aquanautsdive.com/news/dj/hiddenwr